messager
info_outline วิสัยทัศน์
วิสัยทัศน์หน่วยงาน
วิสัยทัศน์ขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองสูงใต้ " น้ำเพียงพอ ก่อรายได้ สิ่งแวดล้อมดี คนมีคุณภาพ "

insert_drive_file ประวัติความเป็นมา
ประวัติ


ประวัติตำบลหนองสูงใต้
ความเป็นมาของตำบลหนองสูงใต้ หรือตัวบ้านแวงนั้น เริ่มก่อตั้งเมื่อประมาณ พ.ศ. 2455 ได้มีนายเชียงใด พุทธพันธ์ ชาวบ้านหนองแต่ง ซึ่งเป็นนายพรานได้เข้ามาล่าสัตว์ บริเวณป่าแถบห้วยค้อ เพราะป่าแห่งนี้เป็นที่อุดมสมบูรณ์มีสัตว์ป่าจำนวนมาก นายเชียงเตจึงเดินสำรวจดูบริเวณนั้นก็ได้พบหนองน้ำบริเวณที่มีสัตว์ชุกชุม ได้มาอาศัยดื่มน้ำ ในหนองน้ำนั้นก็มีหญ้าชนิดหนึ่งคล้ายต้นคือ เป็นวัสดุที่นำมาทำเป็นไพหญ้ามุงหลังคาบ้าน ทำฝาบ้านได้ ชาวบ้านเรียกว่าหญ้าแวง หรือ ต้นแวง ต่อมานายเชียงเตได้กลับไปบ้านได้ไปเล่าให้พี่น้องเพื่อนฝูงฟัง ว่าได้พบ ทำเลที่เป็นป่าที่อุดมสมบูรณ์ จึงชวนญาติพี่น้องประมาณ 6-7 ครัวเรือน มาตั้งบ้านเรือนอยู่ใกล้บริเวณหนองแวงและลำห้วยค้อ เป็นกลุ่มเพื่อนฝูง ญาติพี่น้อง “ต่อมาตาเชียงเต หรือชาวบ้านเรียกว่า“ตาพ่อเคน” ก็ได้ยึดอาชีพถางป่าขายบริเวณห้วยค้อหรือที่ชาวบ้านเรียกว่าคงห้วยค้อ ถางแล้วใครมาซื้อก็ขายไปแล้วก็ถางต่อไปเรื่อย ๆ แล้วก็ขายอยู่อย่างนั้นเรื่อยไปเพราะสมัยนั้นไม่มีใครเป็นเจ้าของป่าดงใครอยากได้จับจองเอาไว้ ทําไร่ ทําสวน ทํานา ประมาณ พ.ศ. 2472 มีพี่น้องจากบ้านอุ่มไผ่ อำเภอนิคมคําสร้อย ได้พากันเดินทางเข้ามาตั้งบ้านเรือนอยู่ในบ้านหนองแวง จึงมีจํานวนครัวเรือนเพิ่มขึ้น อีกตามลำดับ คือ “ กลุ่มเจ้ามหาโคตร ประมาณ พ.ศ.2473 ได้มีพี่น้องจากบ้านหนองสูง ได้ย้ายถิ่นฐานเข้ามาตั้งบ้านเรือนอยู่ที่หมู่บ้านหนองแวงเพิ่มขึ้นมี “สกุลวิเศษศรี" คือกลุ่ม นายจันลา วิเศษศรี ซึ่งเป็นที่เคารพนับถือของชาวบ้านหนองแวง ได้รับเลือกจากชาวบ้าน ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้ใหญ่บ้าน คนแรก และได้ตั้งชื่อหมู่บ้านตามนามหนองน้ำที่มีต้นแวงว่า“บ้านหนองแวง”หลายปีต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น บ้านแวง สมัยนายบุญสงค์ แสนโคตร ครูใหญ่โรงเรียนบ้านแวง จนถึงทุกวันนี้ (ชื่อเดิมบ้านหนองแวง) และในปีนั้นชาวบ้านได้ร่วมกันสร้างวัดขึ้นเพื่อเป็นสถานที่สําคัญทางศาสนา เป็นที่อยู่ของพระสงฆ์ และเป็นที่ประกอบศาสนกิจของพระสงฆ์ตลอดจนที่บำเพ็ญกุศลต่าง ๆของพุทธศาสนิกชน ทั้งทางด้านจิตใจ ขนบธรรมเนียมประเพณีนิยม นอกจากนี้ยังเป็นศูนย์กลางบริการทางการศึกษา และสังคมนิยม แล้ววันที่ 25 เดือน มีนาคม ในปีนั้น ชาวบ้านก็ได้อัญเชิญหลวงพ่อ “พระพุทธศิลาลักษณ์” พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์จากเหล่าพระ ทางทิศใต้หมู่บ้านเข้ามาประดิษฐานที่วัดบ้านแวงในปีนั้นเองประมาณ พ.ศ. 2485 นายก้อน กลางประพันธ์ ซึ่งเป็นลูกเขยของผู้ใหญ่ในลา วิเศษศรี ได้รับการเลือกตั้งให้เป็นผู้ใหญ่บ้าน คนที่ 2 ประมาณ พ.ศ. 2494 ผู้ใหญ่ก้อน กลางประพันธ์ ก็ได้รับเลือกเป็นกำนัน คนที่ 4 ตำบลหนอสูงใต้ต่อจากกำนันคนก่อน ๆ ซึ่งเมื่อท้องถิ่นนี้ ได้ยกฐานะขึ้นเป็นตำบลเนื่องจากอยู่ทางทิศใต้ของตำบลหนองสูงจึงได้ชื่อว่า “ตำบลหนองสูงใต้" ตามประวัติพอสังเขปดังต่อไปนี้ ประมาณ พ.ศ. 2458 ทางราชการเห็นว่าในเขตหุบเขานี้ มีหมู่บ้านมากแล้วคือ บ้านเป้า บ้านป่าแสดบ้านคำ บ้านโคกกลาง บ้านเหล่าน้อย บ้านหลุบปิ้ง บ้านหนองแวง บ้านโคกหินกอง บ้านหนองนกเขียนบ้านคํานางโอก จึงแยกให้ เป็นตําบล คือ ตำบลหนองสูงใต้ มีท่าน นอมรศักดิดาเดช (เขียว) เป็นกำนันปกครองตำบล คนที่ 1 ชาวบ้านเรียกว่า “เจ้าขุนละมอ” กำนันคนที่ 2 นายเหลิน แสนโคตร อยู่บ้านหนองแต้กำนันคนที่ 3 นายจันทร์ศรี กลางประพันธ์ บ้านเป้า และนายก้อน กลางประพันธ์ กำนันคนที่ 4 บ้านแวงอาณาเขตสมัยนั้น ทิศเหนือจดเขตหนองสูง ทิศใต้จดบ้านโคกกลาง อำเภอหนองพอก ทิศตะวันออกบ้านนางโอก หนองนกเขียน ทิศตะวันตกจดภูเขาเขียวเขตจังหวัดร้อยเอ็ด พ.ศ. 2503 นายชิววัลย์ คนหาญ ได้รับเลือกตั้งเป็นผู้ใหญ่บ้านแวง คนที่ 3 เป็นผู้ใหญ่บ้านได้ประมาณ 1 ชั่วโมง ก็ได้รับเลือกให้เป็นกำนันจากเสียงสนับสนุนที่มากกว่า 1 เสียง ได้เป็นกำนันคนที่ 5 ของตำบลหนองสูงใต้ เป็นผู้ที่มีโชคดีสองขั้นคนแรก ได้เลื่อนตำแหน่งในวันเดียวกับการเป็นผู้ใหญ่บ้านและเป็นกำนันในวันเดียวกัน ท่านเป็นกำนันที่มีความสามารถทั้งในด้านการปกครอง การวางผังบ้านแวง การจัดสรรที่ทำกินให้กับลูกบ้านและเป็นกำนันมือปราบดีเด่นได้รับพระราชทานแหนบทองคำ และปืนพก ประจำตัว เป็นเกียรติศักดิ์ศรีต่อวงศ์ตระกูล พ.ศ. 2522 – 2532 นายบัวผัน อาจวิชัย ได้รับการเลือกตั้งเป็นกำนัน คนที่ 6 พ.ศ. 2532 - 2553 นายวัฒนา อินผิว เป็นกำนันคนที่ 7 บ้านโคกหินกอง พ.ศ. 2553 – ปัจจุบัน นายมานิตย์ มหาวงศ์ เป็นกำนันคนที่ 8 บ้านแวงใหม่ พื้นที่ตำบลหนองสูงใต้ ในปัจจุบันมี 8 หมู่บ้าน ได้แก่ บ้านหลุบปิ้ง หมู่ที่ 1, บ้านโคกกลาง หมู่ที่ 2, บ้านแวง หมู่ที่ 3, บ้านเหล่าน้อย หมู่ที่ 4, บ้านโคกหินกอง หมู่ที่ 5, บ้านแวง หมู่ที่ 6, บ้านหนองแคน หมู่ที่ 7,และบ้านแวงใหม่ หมู่ที่ 8 สภาพบริเวณ ส่วนใหญ่เป็นที่ราบสลับภูเขามีป่าไม้ ภูเขา แหล่งน้ำที่สำคัญคือ ห้วยไผ่ห้วยทอย ห้วยกกไฮ ห้วยกระเบน(กระเบียน) ห้วยคอ แหล่งธรรมชาติที่ชื่นชนทั่วไป คือวัดภูจ้อก้อ (วัดบรรพตคีรี) วัดภูยางเดี่ยว เป็นต้น ตำบลหนองสูงใต้ มีข้อดีหลายอย่างตามคำขวัญของตำบลหนองสูงใต้ มีว่า “หนองสูงใต้ถิ่นผู้ไทย ผ้าไหมมัดหมี่สวยล้ำ แหล่งธรรมบรรพตคีรี เขมปัตตเจดีย์สง่างาม ผาขามเขียวยางเดี่ยวเด่น ธารใสเย็นห้วยค้อต่อกระเบียน แสงเทียนกระทงผ่องอำไพ ร่วมใจสุขภาพดีที่หนองแวง ”

check_circle นโยบาย
นโยบายการพัฒนาของผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลหนองสูงใต้
คณะผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลหนองสูงใต้ ได้กำหนดนโยบายและแนวทางในการพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบลหนองสูงใต้ ดังนี้

1. นโยบายด้านการศึกษา การศาสนา และวัฒนธรรม
1.1. ส่งเสริมการศึกษามุ่งพัฒนาความพร้อมแก่เด็กตั้งแต่แรกเกิดจนถึงก่อนการศึกษา ขั้นพื้นฐาน เพื่อให้เด็กได้รับการพัฒนาทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม และสติปัญญา 1.2. ปรับปรุงและพัฒนาศูนย์เด็กก่อนเกณฑ์ในวัด ให้ก้าวเข้าสู่มาตรฐาน ความเป็นเลิศทางการศึกษา ทางวิชาการ และด้านอาคารสถานที่ 1.3.ส่งเสริมการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานตามนโยบายของรัฐมุ่งเน้นการพัฒนาและวางรากฐานชีวิต โดยให้ผู้เรียนมีความรู้คู่คุณธรรม และมีจิตสำนึกในความเป็นไทย 1.4. ส่งเสริมการดำเนินการขยายโอกาสการศึกษา และการจัดการต่างๆของการศึกษาขั้นพื้นฐาน ตามความพร้อมและความเหมาะสมของสถานศึกษา 1.5. ส่งเสริมให้เด็ก เยาวชน และประชาชนมีการศึกษาที่ดีและมีคุณภาพสร้างโอกาสทางการศึกษา เพื่อความเป็นเลิศทางการศึกษาให้กับเด็กและเยาวชน 1.6. จัดให้มีแหล่งค้นคว้าและเรียนรู้ที่เพียบพร้อมทันสมัยอย่างทั่วถึง เช่นห้องสมุดประชาชน ศูนย์การเรียนรู้ชุมชน เพื่อสร้างโอกาสทางการศึกษาทั้งในหลักสูตรและนอกหลักสูตร 1.7. ส่งเสริมและสนับสนุนกิจกรรมทางศาสนา เพื่อความสมานฉันท์ และเพื่อสันติธรรมในสังคม 1.8. จัดให้มีการปลูกจิตสำนึกให้เด็ก เยาวชน และประชาชนเกิดวามเชื่อมั่นในศาสนา ประเพณี วัฒนธรรม ความซื่อสัตย์ และวินัยอย่างเป็นรู 1.9. สนับสนุน ส่งเสริมการจัดกิจกรรมกีฬา และการเข้าร่วมกิจกรรมนันทนาการต่างๆ ตามความต้องการและความเหมาะสมของเยาวชนประชาชนแต่ละวัย 1.10. ส่งเสริมการจัดกิจกรรมด้านศิลปวัฒนธรรม จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยเฉพาะกิจกรรมที่เน้นความเป็นไทย และท้องถิ่น 1.11. ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในท้องถิ่น รวมทั้งชุมชนและองค์กรต่างๆ ทั้งนี้เพื่อนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้อย่างเต็มตามศักยภาพ อันส่งผลให้การจัดการศึกษามีความหลากหลายเหมาะสม และบรรลุตามวัตถุประสงค์ของกฎหมายทางการศึกษา อีกทั้งยังเป็นการส่งเสริมการประพฤติปฏิบัติที่ดีงามตามหลักศาสนา ส่งเสริมการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมที่ยั่งยืนของท้องถิ่นต่อไป

2. นโยบายด้านสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม
2.1. ส่งเสริมและพัฒนาระบบบริการสาธารณสุขที่เน้นการส่งเสริมสุขภาพและการป้องกันโรค โดยจัดรูปแบบการบริการแบบเชิงรุกมากกว่าเชิงรับ 2.2. ปรับปรุงและพัฒนาระบบบริการสาธารณสุขแบบองค์รวมและบูรณาการโดยยึดคนเป็นศูนย์กลาง อาศัยความเข็มแข็งของชุมชนเป็นรากฐานการพัฒนา 23. ส่งเสริมและพัฒนาด้านสุขาภิบาลอาหาร และอนามัยสิ่งแวดล้อม 2.4. ส่งเสริมให้ประชาชนมีโอกาสรับรู้ข่าวสารสาธารณสุข และด้านอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างถูกต้อง 2.5. ส่งเสริมการสร้างเครือข่ายชุมชน โดยเน้นให้ชุมชนได้ร่วมมือกัน และประสานงานช่วยเหลือซึ่งกันและกันและสร้างจิตสำนึกในความรักท้องถิ่น 2.6. ส่งเสริมและพัฒนาให้มีสภาพแวดล้อมทางกายภาพที่ดี สังคมเข้มแข็ง มีความสงบ สะดวก ปลอดภัย มีระเบียบวินัย คนมีคุณภาพชีวิตที่ดี มีวิถีชีวิตความเป็นอยู่ความเป็นสุขที่ดีขึ้น 2.7. จัดบริการรักษาความสะอาด และความเป็นระเบียบเรียบร้อยของถนน ทางเท้าและที่สาธารณะ อีกทั้งปรับปรุงสภาพภูมิทัศน์ให้มีความสวยงามอยู่เสมอ 2.8. จัดให้มีสวัสดิการอาสาสมัคร อสม. อผส. ให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพแก่ชุมชน 2.9. ส่งเสริมรณรงค์และปลูกจิตสำนึกให้เยาวชนและประชาชนมีความตระหนักในปัญหาสิ่งแวดล้อม และเข้ามามีส่วนร่วมในการดูแลรักษาแก้ปัญหา เพื่อพัฒนาสิ่งแวดล้อมในชุมชนของตนเอง 2.10. ส่งเสริมให้ประชาชนหน่วยงาน องค์กรต่างๆ ร่วมอนุรักษ์และพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติ สถานที่ท่องเที่ยว ศิลปวัฒนธรรมประเพณี และภูมิปัญญาท้องถิ่น 2.11. ส่งเสริมด้านกีฬานันทนาการ โดยจัดหาพื้นที่สำหรับออกกำลังกาย และเป็นที่พักผ่อนหย่อนใจแก่ประชาชน

3. นโยบายด้านสังคม
3.1. ส่งเสริมครอบครัวอบอุ่น ชุมชนเข้มแข็ง โดยการจัดกิจกรรม เสริมสร้างให้ครอบครัวได้มีกิจกรรมร่วมกัน ส่งเสริมให้ทุกชุมชนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลหนองสูงใต้ ได้ทำกิจกรรมต่างๆร่วมกัน เพื่อให้เกิดความสามัคคีในชุมชนและห่างไกลจากยาเสพติด 3.2. ส่งเสริมการป้องกันและการดูแลรักษาสุขภาพของประชาชนผู้สูงอายุ ผู้ด้อยโอกาส ให้ได้รับการดูแลเอาใจใส่อย่างทั่วถึง และจัดให้มีการดูแลส่งเสริมสุขภาพให้แก่ผู้สูงอายุ ตลอดทั้งการจัดกิจกรรมเสริมสร้างสุขภาพกายและสุขภาพจิตให้กับผู้สูงอายุ และจัดกิจกรรมให้ผู้สูงอายุได้มีส่วนร่วมกับกิจกรรมต่างๆ ขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองสูงใต้ รวมถึงการป้องกันและแก้ไข การแพร่ระบาดของโรคติดต่อต่างๆ 3.3. พัฒนางานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น สามารถบรรเทาความเดือนร้อนของประชาชนได้อย่างรวดเร็วให้ทันต่อสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ตลอดจนให้มีมาตรการลดอุบัติเหตุการจราจรทางบก รวมทั้งการรักษาความสงบเรียบร้อยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน 3.4. แก้ไขปัญหาที่เกี่ยวกับที่ดินสาธารณะประโยชน์ ที่อยู่ในความรับผิดชอบ ให้เป็นไปตามกฎหมายที่กำหนด 3.5. ส่งเสริมประชาธิปไตย ความเสมอภาค และสิทธิเสรีภาพของประชาชน 3.6. ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน จัดให้มีการเฝ้าระวังและป้องกันการแพร่ระบาดของยาเสพติด

4. นโยบายด้านการคมนาคม
4.1. จะดำเนินการก่อสร้างและปรับปรุงถนน ทางเท้า ท่อระบายน้ำและขุดลอกคลอง ลำห้วยสาธารณะให้กว้างขึ้น ให้มีความสะดวด รวดเร็วในการสัญจรไป – มา ปรับปรุงซ่อมบำรุงถนนสายหลักสายรอง และซอยต่างๆ ให้สามารถใช้การได้อย่างสะดวก เพื่อลดความแออัดในจุดที่มีการจราจรที่ติดขัด 4.2. ติดตั้งและขยายเขตไฟฟ้าสาธารณะให้ทั่วถึงในแหล่งชุมชนขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองสูงใต้ เพื่อสร้างความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน 4.3. พัฒนาระบบสาธารณูปโภคและสาธารณูปการให้เพียงพอต่อความต้องการของประชาช

5. นโยบายด้านเศรษฐกิจ
5.1. ส่งเสริมสนับสนุนด้านอุตสาหกรรม และเทคโนโลยีให้มีความเจริญก้าวหน้าตามยุคกระแสโลกาภิวัตน์ 5.2. ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพให้แก่ประชาชน กลุ่มสตรีแม่บ้าน โดยสนับสนุนให้แก่ กลุ่มสตรีแม่บ้านได้มีกิจกรรมเสริมนอกจากงานประจำที่ทำอยู่ เพื่อเป็นการเสริมรายได้ให้แก่กลุ่ม 5.3. ส่งเสริมกลุ่มเกษตรกรและกลุ่มปศุสัตว์โดยนำแนวพระราชดำริเศรษฐกิจแบบพอเพียง มาปรับใช้เพื่อลดรายจ่ายเพิ่มรายได้ให้แก่กลุ่มต่างๆ

6. นโยบายด้านการมีส่วนร่วมของประชาชน
6.1. ส่งเสริมและสนับสนุนการให้ความรู้แก่ประชาชนผ่านสื่อต่างๆ ขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองสูงใต้ 6.2. ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็ก สตรี คนชรา และผู้ด้อยโอกาส รวมทั้งการเพิ่มศักยภาพชีวิตของศูนย์เด็กก่อนเกณฑ์ในวัด ให้มีคุณภาพการเรียนการสอนที่ดีขึ้น ตลอดจนการจัดกิจกรรมนันทนาการให้ผู้สูงอายุ เด็ก คนชรา ได้มีส่วนร่วมกับโครงการกิจกรรมที่องค์การบริหารส่วนตำบลหนองสูงใต้จัดขึ้น 6.3. พัฒนาและฝึกอบรมศึกษาดูงานให้แก่ประชาชน สมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบล หนองสูงใต้ คณะผู้บริหาร พนักงานและลูกจ้างขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองสูงใต้ เพื่อเพิ่มพูนความรู้ ความสามารถ และนำไปใช้ในชีวิตประจำวันและการทำงานได้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล

7. นโยบายด้านการพัฒนาประสิทธิภาพในการบริหารการจัดการ
7.1. ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการทำงานร่วมกับองค์การบริหารส่วนตำบล หนองสูงใต้ จัดประชุมประชาคมเพื่อให้ประชาชนได้แสดงความคิดเห็น หรือแจ้งปัญหาความเดือดร้อนที่เกิดขึ้นในชุมชน 7.2. พัฒนาบุคลากรให้มีประสิทธิภาพ โดยการจัดฝึกอบรมทัศนศึกษาดูงาน เพื่อให้ได้รับพัฒนาการแบบต่อเนื่อง สามารถนำสิ่งที่พบเห็นมาปรับปรุงการทำงานได้ ตลอดจนการจัดประชุมประจำเดือนของพนักงานและลูกจ้างขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองสูงใต้ เพื่อสร้างความเข้าใจ ในการบริหารงานให้บุคลากรขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองสูงใต้ ได้รับทราบ 7.3. ปรับปรุงระบบบริการ เพื่อให้ประชาชนมีความพอใจสูงสุด 7.4. ส่งเสริมให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจ รวมทั้งการบริการประชาชนเกี่ยวกับภาษีของท้องถิ่นให้มีประสิทธิภาพประสิทธิผลมีความเหมาะสม เสมอภาค และความเป็นธรรม 7.5. พัฒนารายได้ขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองสูงใต้ ให้เป็นไปอย่างทั่วถึงและเป็นธรรม

8. ด้านการเกษตร
8.1. จัดให้มีแหล่งน้ำเพื่อการเกษตร 8.2. ปรับปรุงพัฒนาฟื้นฟูและอนุรักษ์แหล่งน้ำ 8.3. สนับสนุนศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบลหนองสูงใต้ 8.4. จัดให้มีการอรบรมศึกษาดูงานให้แก่เกษตรกร 8.5. ส่งเสริมโครงการการใช้เมล็ดข้าวพันธุ์ดีในชุมชนทุกหมู่บ้านภายใน 4 ปี 8.6. ส่งเสริมการเก็บฟางข้าวเป็นอาหารสัตว์ไว้กินในฤดูแล้ง 8.7. ส่งเสริมสนับสนุนศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงในชุมชน 8.8. ส่งเสริมโครงการไถกลบตอซังข้าวนาปี 8.9. ส่งเสริมการอนุรักษ์พันธุ์ผักพื้นบ้านพืชผักสวนครัว

check_circle สภาพเศรษฐกิจ
ระบบเศรษฐกิจ



ด้านอาชีพ
ประชาชนในตำบลหนองสูงใต้ ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ได้แก่ การทำไร่ ทำนา ทำสวน และรับจ้าง เป็นต้น สำหรับพืชที่ปลูก ได้แก่ ข้าว อ้อย มันสำปะหลัง ยางพารา มะเขือเทศ ยาสูบและพืชผักสวนครัวอท่นๆ ด้านปศุสัตว์ มีการเลี้ยงสัตว์ไว้สำหรับการบริโภค และจำหน่ายเป็นรายได้เสริมให้กับครอบครัวอีกทางหนึ่ง ได้แก่ เป็ด ไก่ หมู โคกระบือ ปลา เป็นต้น นอกจากนั้นยังมีการรวมกลุ่มเพื่อทำหัถกรรมพื้นบ้านเป็นอาชีพเสริมหลังเสร็จฤดูเก็บเกี่ยว เช่น การทอผ้าไหม ทอผ้าฝ้าย เสื้อเย็บมือ และการปลูกหม่อนเลี้ยงใหม่ เป็นต้น

ด้านปศุสัตว์
ตำบลหนองสูงใต้ มีจำนวนผู้เลี้ยงโค-กระบือ จำนวน 252 คน จำนวนโคกระบือทั้งสิ้น 973 ตัว ในปี พ.ศ. 2564 พบการระบาดของโรคระบาดของโรคลัมปี สกิน ในโค-กระบือ จำนวน 431 ตัว คิดเป็นร้อยละ 44.29 ของประชากรโค-กระบือทั้งหมดในตำบล

หน่วยธุรกิจในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลหนองสูงใต้
ปั้มน้ำมัน 4 แห่ง (ปั้มหัวฉีด,ปั้มหลอด) โรงสี 7 แห่ง (ม.1, ม.3, ม.4, ม.5, ม.8) ร้านค้าต่างๆ 40 แห่ง กลุ่มอาชีพ 13 กลุ่ม กลุมออมทรัพย์ 2 กลุ่ม (ม.3 และ ม.8) กลุ่มออมวันละบาท 8 แห่ง (ม.1 - ม.8) อู่ซ่อมรถ 4 แห่ง